เปิดข้อมูลเปรียบเทียบอาการ “โควิด-19” ทั้ง 4 สายพันธุ์ ป่วยแบบไหนเป็นอย่างไร? ใช่ “โอมิครอน” หรือไม่?
ในช่วงที่สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 กลับมามียอดจำนวนผู้ป่วยสูงขึ้นอีกครั้งเช่นนี้.. ท่ามกลางสายพันธฺุต่างๆ ที่พัฒนาขึ้น จนมาถึง สายพันธุ์ “โอมิครอน” อาจจะทำให้ใครหลายๆ คนเกิดความสงสัย ว่าอันที่จริงแล้ว.. หากมีอาการป่วย เป็นสายพันธุ์ใดกันแน่? วันนี้ เรามีคำตอบมาฝากกัน
โควิดสายพันธุ์โอไมครอน
สายพันธุ์ B.1.1.529 หรือสายพันธุ์โอไมครอน มีรายงานการพบครั้งแรกในทวีปแอฟริกา ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรายงานการพบสายพันธุ์นี้เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564
อาการโควิดโอมิครอน
-เจ็บคอ
-ปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อย
-เหนื่อยมาก อ่อนเพลีย
-ไอแห้ง
-เหงื่อออกมากแม้จะอยู่ในห้องที่มีอากาศเย็น จนอาจจะต้องลุกไปเปลี่ยนเสื้อผ้า
โควิดสายพันธุ์อัลฟา
สายพันธุ์ B.1.1.7 หรือสายพันธุ์อัลฟา พบที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งมีการรายงานไปยังองค์การอนามัยโลกครั้งแรกในเดือนกันยายน 2563 โดยสายพันธุ์นี้สามารถทํานายเบอร์โทรศัพท์ แม่นที่สุดในโลกกลายพันธุ์ได้ถึง 17 ตำแหน่ง โดยหนึ่งในจุดที่พบการกลายพันธุ์คือโปรตีนส่วนหนามของไวรัส ซึ่งทำให้เชื้อไวรัสจับกับเซลล์ของมนุษย์ได้ดีขึ้น แต่วัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังสามารถต่อต้านสายพันธุ์นี้ได้
อาการโควิดอัลฟา
-มีไข้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
-เจ็บคอ
-หายใจหอบเหนื่อย
-ปวดตามร่างกายและศีรษะ
-การรับรสหรือการได้รับกลิ่นผิดปกติ
โควิดสายพันธุ์เบตา
สายพันธุุ์ B.1.351 หรือสายพันธุ์เบตา พบครั้งแรกที่แอฟริกา และมีการรายงานไปยังองค์การอนามัยโลกครั้งแรก เมื่อเดือนพฤษภาคม 2563 เป็นการกลายพันธุ์จากสายพันธุ์ที่พบในประเทศอังกฤษ ซึ่งอาจทำให้มีความสามารถในการหลบหนีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดิมหรือแม้กระทั่งวัคซีนได้
อาการโควิดเบตา
-ปวดเมื่อยตามร่างกาย
-เจ็บคอ
-ท้องเสีย
-ปวดศีรษะ
-ตาแดง
-การรับรสหรือการได้รับกลิ่นผิดปกติ
-มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี
โควิดสายพันธุ์เดลตา
สายพันธุ์ B.1.617.2 หรือสายพันธุ์เดลตา ถูกพบครั้งแรกในประเทศอินเดีย รายงานไปยังองค์การอนามัยโลกครั้งแรก เมื่อเดือนตุลาคม 2563 สายพันธุ์นี้มีความแตกต่างจากสายพันธุ์อื่น เนื่องจากพบการกลายพันธุ์คู่ ที่อาจทำให้ไวรัสติดต่อได้ง่ายขึ้น หรือหลบระบบป้องกันในร่างกายมนุษย์ได้ดีขึ้น
อาการโควิดเดลตา
-ปวดหัว
-เจ็บคอ
-มีน้ำมูก
-ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส
-อาการคล้ายเป็นหวัดธรรมดา
อ้างอิง